เสียงเพลง / วัฒนธรรม / อำนาจ
  • ฿175.00
  • ฿166.25

เสียงเพลง / วัฒนธรรม / อำนาจ พลังของเพลงดนตรีเเละการละคร ที่สะท้อนถึงอำนาจทางการเมือง ผู้เขียน อติภพ ภัทรเดชไพศาล ความบันเทิง ไม่ใช่มีเพียงแต่ความสนุกเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองจากรัฐ ใช่ว่าจะมีแต่เพียงรัฐที่จะใช้ได้เท่านั้น ประชาชนก็สามารถใช้ได้ โดยนำไปใช้เคลื่อนไหวทางสังคม ตามเจตนารมย์ที่ตนต้องการความบันเทิงดังกล่าวก็คือ "เพลงดนตรีและการละคร" "เพลงดนตรีและการละคร" ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มีทั้งแบบทางการ ที่รัฐเป็นผู้ผลิตขึ้นมา เราอาจเรียกว่า "วัฒนธรรมป๊อปแบบทางการ" กับแบบที่ไม่ใช่แบบทางการ เป็นแบบที่ชาวบ้านหรือนายทุนทำขึ้นมา คือวัฒธรรมป๊อปแบบไม่ทางการ แต่วัฒนธรรมป๊อป ทั้งสองก็ล้วนมีพลังขับเคลื่อนไม่แพ้กัน ทั้งหมดทั้งมวล มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือเล่มนี้ โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล ซึ่งเป็นทั้งนักแต่งเพลงและนักเขียน เกิดความสงสัย และตั้งคำถามถึงเพลงดนตรีและการละคร ในสยามประเทศไทยว่า ทำไมเพลงบางเพลงถึงทรงพลังจนถึงทุกวันนี้? อะไรคือความหมายของเพลงนั้นๆ หรือการแย่งชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรม การสื่อสารทางความคิด ผ่านบทเพลงและการละคร สารบัญ - จากสายสมรถึงศรีอยุธยา : เพลงของชาวสยามในจดหมายเหตุ ลา ลูเเบร์ - เพลงสิบสองภาษากับความเป็นไทยที่ยกตนข่มท่าน - จากปั้นเมฆถึงคันหู : ศีลธรรมลงเเดงของนางนพมาศ 2554 - ลีลาศ - รำวง - เพลงเศกาล : ความเป็นไทยประดิษฐใหม่ สมัยรัฐบาลเผด็จการ - สุนทราภร์ : เรื่องจริงหรือมายาคติ - เพลงสรรเสริญพระบารมีกับเพลงชาติไทย : สองฟากฝั่นอุดมการณ์ - เพลงชาติไทย : ความลักลั่นระหว่างฉันทลักษณ์กับทำนองเพลง - เเสงดาวเเห่งศรัทธา สถานะของเพลงเพื่อชีวิต เเละคอมมิวนิสต์ ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ - ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง กับเพลงดนตรีตะวันตกในการละครสมัยใหม่ - ดารณี : เสียงเเห่งความสับสนของยุคสมัย - ความคิดเกี่ยวกับ "เวลา" ในการละครเเละวรรณคดีโบราณ

Write a review

Please login or register to review

Tags: บทเพลง, บทละคร, Ebook, matichon, bookcaze, สำนักพิมพ์มติชน

line