จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396
  • ฿480.00
  • ฿399.00

  • ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
  • ผู้แต่ง : สารสิน วีระผล แปลโดย : พรรณงาม เง่าธรรมสาร, รังษี ฮั่นโสภา, สมาพร แลคโซ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกัณฐิกา ศรีอุดม บรรณาธิการ
  • ISBN : 9789740218890
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 522
  • ขนาดไฟล์ : 50.15 MB

จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396 เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การทูต-การค้าระหว่างไทย-จีนยุคปลายอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์ ฉายภาพโครงข่ายการค้าเรือสำเภาในยุคโบราณที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าของบ้านเมืองต่างๆ ทั่วภูมิภาค สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เดิมทีความเข้าใจ การค้าต่างประเทศในยุคโบราณของไทยให้ความสำคัญกับชาติตะวันตกเป็นหลัก ทั้งการค้ากับโปรตุเกส ดัตช์ และฝรั่งเศส ทั้งที่จริงแล้ว ชาติมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างจีนต่างหากที่มีอิทธิพลในการค้าภูมิภาค รัฐน้อยใหญ่ต่างยินยอมค้าขายกับจีนภายใต้ระบบการค้าการทูตที่เรียกว่า "จิ้มก้อง" ซึ่งเป็นการยอมรับสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่นำมาซึ่งรายได้อันมหาศาล ในขณะเดียวกัน การค้าการทูตระหว่างรัฐต่อรัฐก็ทำให้การค้าเมืองท่ารายทางเติบโตขึ้นไปด้วย เกิดขุนนางนายทุน พ่อค้าจีน จำนวนมากดำเนินการค้าแบบเอกชน ค้าขายสินค้าทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย สร้างความมั่งคั่งแก่บรรดาเมืองท่าต่างๆ รวมถึงสยามด้วย อย่างไรก็ตาม ความเฟื่องฟูของการค้าจิ้มก้องนี้ก็จบลง เมื่อมหาอำนาจอย่างจีนค่อยๆ หมดอิทธิพลเนื่องด้วยปัญหาภายในและการเข้ามาของชาติตะวันตกสมัยใหม่ ทำให้รัฐต่างๆ ค่อยๆ เลิกการค้ากับจีน รวมถึงสยาม และหันไปทำการค้าเสรีกับตะวันตกแทน

เขียนข้อคิดเห็น

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อเขียนข้อคิดเห็น

คำค้น: -

line